บันทึกการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์





บันทึกการเรียนรู้ 

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1  วันที่ 31 สิงหาคม  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


          วันนี้อาจารย์เบียร์ได้นัดเรียนรวมกับเพื่อนอีกเซคหนึ่ง บรรยากาศในห้องเรียนก็จะครึกครื้น สนุกสนาน หน่อย อาจารย์ได้เริ่มสอนโดยการให้ร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพื่อผ่อนคลายก่อน และได้เริ่มสอนในหัวข้อ 

                                                               
               
ความหมายของ ภาษา ซึ่งหมายความว่า การสื่อความหมาย 

ความสำคัญของภาษา 
✦เครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
✦เครื่องมือในการเรียนรู้
✦เครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจ
✦เครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

องค์ประกอบของภาษา

1. Phonology   →  เสียงของภาษา 
2. Semantic      → ความหมายของภาษาและคำศัพท์
3. Syntax         → ไวยากรณ์ 
4. Pragmatic    → การนำไปใช้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
1.วุฒิภาวะ
2.สิ่งแวดล้อม
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4.การจัดชั้นเรียน
5.การมีส่วนร่วม 


และได้เรียนเกี่ยวกับ แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย
ซึ่งมีนักทฤษฎีต่างๆที่ได้กล่าวถึง เช่น Skinner  John B. Watson   Vygotsky   Piaget    Arnold Gesell   O. Hobart Mowrer







อาจารย์ได้ให้นักศึกษาพูดเพื่อฝึกทักษะด้านภาษา


ประเมินตัวเอง      : ได้ออกไปพูดหน้าห้อง ได้มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆในห้อง ทำให้การเรียนในคลาสนี้สนุกและไม่น่าเบื่อค่ะ 
ประเมินเพื่อน       : เพื่อนๆสนุกกับการเรียน แย่งกันตอบคำถามอาจารย์ 
ประเมินอาจารย์   : อาจารย์ทำให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนวิชานี้ทำให้ไม่น่าเบื่อ 








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2  วันที่ 7 กันยายน  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้เรียนในหัวข้อ แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา  

มุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ  
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา 
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์

อ่านภาพโดยดูจากรูป 

ต่อมาได้เรียนในหัวข้อ การสอนแบบอ่านแจกลูก (Phonic) , ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย , การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) , ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ , การสอนภาษาธรรมชาติ , หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
ซึ่งหลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ มีทั้งหมด 8 ข้อ ได้แก่ 
1. การจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
3. การเป็นแบบอย่าง
4. การตั้งความคาดหวัง
5. การคาดคะเน
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
7. การยอมรับนับถือ
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น 



 อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ
โดยแต่งคำคล้องจอง



คำคล้องจอง ขนมไทยในบ้านเรา
ของกลุ่มดิฉัน


อาจารย์สอนวิธีการสอนเด็กๆอ่านคำคล้องจอง
เมื่อไปอยู่หน้าชั้นเรียน และมานำเสนอในสัปดาห์หน้า




ประเมินตัวเอง      : ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน และสนใจการทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน       : เพื่อนๆร่วมมือกันทำกิจกรรม สนุกสนาน
ประเมินอาจารย์   : อาจารย์คอยกระตุ้นนักศึกษาให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา 













บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3  วันที่ 14 กันยายน  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

                อาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ได้สั่งให้แต่งคำคล้องจอง และให้นำมารายงานหน้าห้องในอาทิตย์นี้ 
ควรเน้นคำว่านม และใส่รูปข้างๆคำว่า "นม" ทุกคำ มีสีสันสดใส น่าสนใจ 







คำคล้องจอง "ดื่มนมกัน"
ผลงานของฉัน




เมื่อฉันและเพื่อนๆได้ออกไปรายงานหน้าห้อง อาจารย์ก็จะพูดเสริม 
และคอยแนะนำข้อผิดพลาดของแต่ละคนให้ไปแก้ไข และปรับปรุงตนเอง 



ประเมินตัวเอง      : ตั้งใจฝึกซ้อมการนำเสนอมาอย่างดี นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปปรับปรุงตนเอง
ประเมินเพื่อน       : เพื่อนๆตื่นเต้น แต่ทุกคนก็มุ่งมั่นและตั้งใจเมื่อออกไปอยู่หน้าห้อง
ประเมินอาจารย์   : อาจารย์ไม่เคยดุหรือว่าเมื่อทำผิดเลย คอยให้คำแนะนำและกำลังใจให้ไปปรับปรุงในการทำงานเสมอ 








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4  วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


             วันนี้เป็นคาบแรกที่ได้เรียนกับอาจารย์จ๋า อาจารย์เริ่มจากการอยากรู้จักนักศึกษามากขึ้น จึงให้เขียนลักษณะตนเองใส่กระดาษแล้วให้เพื่อนๆทาย เป็นการเริ่มคลาสเรียนที่สนุกสนานค่ะ 
            ต่อมาอาจารย์ได้ให้ออกไปนำเสนอ เพลงที่อาจารย์เบียร์ให้แต่งจากคาบที่แล้ว โดยเรียงเลขที่จากเลขที่แรกไปเลขที่สุดท้าย 




เมื่อฉันได้ออกไปนำเสนออาจารย์ก็แนะนำเพื่อนๆไปเยอะแล้ว
ฉันจึงได้จำขั้นตอนที่อาจารย์บอกไปหน้าห้อง คือ เริ่มจากสอนเด็กๆ ร้องเพลงก่อนหนึ่งรอบ 
แล้วจึงอ่านและให้เด็กๆอ่านตามทีละวรรค ต่อมาให้ครูร้องแล้วเด็กๆร้องตามครูทีละวรรค 
รอบต่อมาให้ร้องพร้อมกับครู และรอบสุดท้ายให้ร้องและทำท่าไปกับครูผู้สอน 

เมื่อออกไปแล้วก็ทำให้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเยอะ 
จึงต้องแก้ไขตนเอง โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่า 
ให้ทำนองท่อนสุดท้ายลงเป็นเสียงต่ำ เพลงจึงจะได้จบและไพเราะ



เพลง ดื่มนมโตไว
ผลงานของฉัน





ประเมินตัวเอง      : ตั้งใจและพยายามท่องจำไป แต่ก็พอใจที่ตนเองได้นำเสนอ
ประเมินเพื่อน       : เพื่อนๆตั้งใจ และแต่งเพลงได้เพราะ มีวิธีหลากหลายในการนำเสนอ
ประเมินอาจารย์   : อาจารย์คอยให้คำแนะนำเนื่องจากการแต่งเพลงยากและการใส่เนื้อเพลงลงไปในทำนองก็ยาก อาจารย์แนะนำและปรับเปลี่ยนเนื้อเพลงให้เข้ากับทำนองของนักศึกษา














บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5  วันที่ 12 ตุลาคม  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


✪ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาฟังเสียงจากเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์นำมาให้ฟัง เพื่อทดสอบและฝึกทักษะการฟังจากสื่อต่างๆ

  

✪   ต่อมาเป็นกิจกรรมที่ให้นำของรักของหวงที่มีในตัวออกมาคนละชิ้นพร้อมบอกว่าทำไมถึงรักของชิ้นนี้

      - เพื่อนบางคนบอกว่าทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งของต่างๆ  เช่น ลูกหว้า ให้เหตุผลว่า เห็นความจำเป็นของสิ่งของนั้นๆ  




✪  กิจกรรมพูดอธิบายภาษาด้วยการพูด 
     หากนำไปใช้กับเด็ก มีโอกาสสามารถจักกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้สอดคล้องกับตัวเด็ก,วิธีการเรียนรู้ (ผ่านการเล่น) ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การยึดหยุ่น เช่น การวาดรูป (ศิลปะ) ของเด็กสื่อออกมา

    ** วิธีการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดย ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยลงมือกระทำต่อวัตถุอย่างอิสระ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง 

✪  กิจกรรมการเชิญชวน โฆษณา ประชาสัมพันธ์ การประกาศ 
     เด็กสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยการ ถาม-ตอบ เปิดโอกาสให้เด็กพูดในสิ่งที่เขาอยากพูดได้ 


ประเมินตนเอง :  ตั้งใจฟังและจดที่อาจารย์พูดพยายามเก็บเนื้อหาให้ได้มากที่สุด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตอบคำถามอาจารย์ ต่างๆ
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์สอนโดยการพูด พยายามถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาโดยการตั้งคำถามให้ทำกิจกรรมต่างๆ















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6  วันที่ 19 ตุลาคม  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

           
✰   วันนี้อาจารย์ได้ให้วาดรูปทายคำใส่กระดาษ โดยห้ามให้เพื่อนเห็น และให้ทายคำปริศนาว่าแต่ละคนวาดเป็นรูปอะไรและเป็นคำว่าอะไร
             



✰   กิจกรรมต่อมา อาจารย์ได้ให้วาดรูปอะไรก็ได้ลงกระดาษ A4 และจับกลุ่มให้นักศึกษาคละๆกัน  โดยให้ออกไปหน้าห้องเรียน เล่าเรื่องราวที่แต่ละคนวาดต่อกันให้เป็นนิทานหนึ่งเรื่องให้สอดคล้องกันจนจบเรื่องให้ได้


รูปที่ฉันวาด 



ประเมินตัวเอง      :  สนุกและท้าทายตื่นเต้น เมื่อออกไปเล่าเรื่องเพราะไม่ได้เตรียมกับเพื่อนมาก่อน , ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินเพื่อน       :  เพื่อนๆ ตั้วใจทำกิจกรรม , ให้ความร่วมมือ
ประเมินอาจารย์    :  อาจารย์คอยแนะนำเสมอ และเมื่อเพื่อนต่อเรื่องไม่ได้อาจารย์ก็จะช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์













บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7   วันที่ 2 พฤศจิกายน  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

✩   วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กในแต่ละด้าน ได้แก่
การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และให้ได้ให้จับกลุ่มระดมความคิดว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้แก่เด็กปฐมวัยได้ 



  กลุ่มดิฉันร่วมกันระดมความคิดว่ามีกิจกรรมใดบ้าง




แผนภาพของกลุ่มฉันที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นมาได้ค่ะ 


✩ ท้ายคาบอาจารย์ได้ให้ดูตัวอย่างและวิธีการทำภาพปริศนาอะไรเอ่ย 




ประเมินตัวเอง      :  ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยเพื่อนๆในกลุ่มแสดงความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน       :  เพื่อนๆในห้องตั้งใจทำงานที่ต้องออกมานำเสนอมาก และทำออกมาดี
ประเมินอาจารย์   :  อาจารย์ให้คำแนะนำเสมอ เมื่อแต่ละกลุ่มมีข้อผิดพลาดอาจารย์บอกและให้แก้ไข














บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8   วันที่ 16 พฤศจิกายน  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


✿ วันนี้อาจารย์ได้สอนการพับ-ตัด และเล่าเรื่องไปด้วย 

➞ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา → การพับตัดกระดาษ,เล่านิทาน
เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ⟺ คือการเล่น โดยมีสิ่งเหล่านี้เป็นสื่อ สามารถเชื่อมโยงเป็นกิจกรรมในวิชาศิลปะได้ การจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพื่อไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     👀 ถ้าอยากให้เด็กได้อะไรก็ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำ 👀


ภาษา ➩ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คือ การที่เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม / ต้องมีพฤติกรรมเกิดขึ้น 









กิจกรรมพับ-ตัด ที่อาจารย์ให้ตัดในคาบเรียน




ประเมินตัวเอง      :  ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน       :  เพื่อนๆตั้งใจตัดกระดาษและช่วยกันทำ
ประเมินอาจารย์   :  อาจารย์อธิบายได้เข้าใจดีค่ะ













บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9   วันที่ 23 พฤศจิกายน  พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


      วันนี้อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ3 คน ให้แบ่งหน่วยกับเพื่อนๆในห้องห้ามซ้ำกัน โดยให้จำลองจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยในห้องเรียนจริงๆ ใน 1 สัปดาห์ ควรสอนและจัดกิจกรรมอย่างไรให้เด็กบ้าง


             


      




ประเมินตัวเอง      : ตั้งใจทำงานกับเพื่อนๆ  
ประเมินเพื่อน       : เพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดกิจกรรมต่างๆ
ประเมินอาจารย์   : อาจารย์มีประชุม แต่ยังใส่ใจเดินมาดูงานของนักศึกษาบ่อยๆ 















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้